汉泰英中医术语词典

补阴药  (bǔ yīn yào) : 能滋养阴液,主要用于治疗阴虚证的药物。

ปู่อินเย่า : ยาบำรุงอิน กลุ่มยาที่มีสรรพคุณหล่อเลี้ยง เสริมบำรุงอินและสารน้ำในร่างกาย ใช้รักษากลุ่มอาการอินพร่อง
yin-tonifying medicinal : a medicinal that replenishes and nourishes yin fluid, mainly for treating yin deficiency pattern/syndrome.

布指 (bù zhǐ) : 医生下指诊脉,先以中指按掌后高骨内侧动脉以确定关部,后用食指确定寸部,再用无名指确定尺部。

ปู้จื่อ : การจัดวางนิ้วเพื่อตรวจชีพจร วิธีการใช้นิ้วตรวจคลำชีพจร โดยใช้นิ้วกลางคลำหาชีพจรตำแหน่งกวนที่ข้อมือก่อน แล้วจัดวางนิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ ปลายนิ้วชี้คือตำแหน่งชุ่น ปลายนิ้วนางคือตำแหน่งฉื่อ  
finger positioning : positioning of fingers in pulse examination, namely the physician firstly locates guan part by pressing the media artery of tubera radii posterior to the palm, then locates cun part with index finger and chi part with ring finger.

【หมวด  c】

藏而不泻  (cáng ér bú xiè) : 概括藏于五脏的精、气、血、津液应经常保持充满,而不能过度耗散的生理特点。

ฉางเอ๋อร์ปู๋เซี่ย : อวัยวะจั้งมีหน้าที่เก็บกักโดยไม่ระบายออก ลักษณะเด่นทางสรีระของอวัยวะจั้งทั้ง 5 ซึ่งจะต้องกักเก็บจิง ชี่ เลือด และจินเย่เอาไว้ให้บริบูรณ์ ไม่ให้สูญเสียกระจายออกมากเกินไป
storing without discharging : summarize the physiological characteristics that the essence, qi, blood, fluid-humor stored in the five viscera should be kept full and avoided overuse.

藏象 (cáng xiàng/zàng xiàng)  : 脏腑的生理功能、病理变化及其表现于外的征象。

ฉางเซี่ยง/จั้งเซี่ยง : อาการที่แสดงออกทางสรีวิทยาหรือพยาธิวิทยาของอวัยวะภายใน อาการที่สื่อให้เห็นถึงหน้าที่ตามสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน
visceral manifestation : the outward manifestation of internal organs through which physiological functions as well as pathological changes can be detected.

草药  (cǎo yào) : 中国局部地区民间使用的,论述项目不全面的中药。

เฉ่าเย่า : ยาพื้นบ้านจีน ยาจีนที่ใช้ในท้องถิ่น ซึ่งไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์บันทึกไว้ในตำราherbs : those medicinal substances only used in folk medicine without comprehensive record in Chinese materia medica.

第14页

上一页    下一页

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  ,  Cookies Policy